Blog

“กู้ร่วม” เรื่องที่ต้องรู้ ก่อนลงเรือกลำเดียวกัน

การกู้ร่วม เป็นอีกทางหนึ่งที่นิยมทำกัน เพราะนอกจากจะได้วงเงินกู้ที่สูงแล้ว ยังช่วยให้ผลการอนุมัติง่ายขึ้นอีกด้วย แต่เชื่อว่าหลายคนอาจจะกำลังมีคำถามเกี่ยวกับการกู้ร่วมอยู่ในหัวมากมายที่ยังไม่รู้กัน วันนี้เรารวบรวมทุกคำสงสัย มารวมไว้ในโพสต์นี้ เพื่อให้ทุกคนได้อ่านก่อนการตัดสินใจลงเรือลำเดียวกัน

กู้ร่วมกับใครได้บ้าง ?


1. คนที่มีนามสกุลเดียวกัน
เช่น พี่ – น้อง , พ่อ – แม่ – ลูก

2. พี่ – น้องท้องเดียวกัน
คนละนามสกุลก็สามารถกู้ร่วมได้ โดยต้องแสดงทะเบียนบ้าน หรือสูติบัตรระบุว่ามีพ่อแม่คนเดียวกัน

3. สามี – ภรรยา
ไม่ได้จดทะเบียนสมรสก็กู้ร่วมได้ แต่ต้องแสดงหลักฐานการเป็นสามี – ภรรยากัน เช่น ภาพถ่าย หรือการ์ดงานแต่งงาน หนังสือรับรองบัตร เป็นต้น

ประโยชน์ของการกู้ร่วม

1. ขออนุมัติสินเชื่อได้ง่ายขึ้น
หากมีผู้กู้ร่วมสถานภาพทางการเงินแข็งแรงก็จะเพิ่มความน่าเชื่อถือมากขึ้น

2. ได้วงเงินสูงขึ้น
ถ้ามีผู้กู้ร่วม ฐานรายได้ที่นำมาพิจารณาก็จะเพิ่มขึ้น จึงมีโอกาสได้วงเงินสูงขึ้น

3.ไม่ต้องแบกภาระหนี้คนเดียว
เป็นการกระจายความเสี่ยง หากวันหนึ่งเราขาดสภาพคล่อง ก็ยังมีผู้กู้ร่วมที่สามารถชำระแทนได้

ข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจกู้ร่วมกัน

1. กู้ร่วมไม่ได้แปลว่าต้องหารหนี้เท่าๆกัน
ถ้าผิดนัดชำระหนี้หรือถูกยึดทรัพย์ขายทอดตลาด ธนาคารมีสิทธิ์จะเรียกชำระหนี้จากใครก็ได้ที่เป็นผู้กู้ร่วม ไม่ใช่รับผิดชอบคนละครึ่ง เพราะการกู้ร่วมคือการรับผิดชอบหนี้ร่วมกัน

2. การใส่ชื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์
การกู้ร่วมอสังหาริมทรัพย์จะมีอยู่ 2 แบบ คือ “ใส่ชื่อคนเดียวเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์” ผู้กู้ร่วมจะไม่มีกรรมสิทธิ์ใดๆ ในอสังหาฯ นั้น ส่วนอีกแบบ “ใส่ชื่อผู้กู้ร่วมทุกคนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์” แบบนี้ทุกคนจะมีสิทธิ์เท่าๆกัน

3. สิทธิ์ลดหย่อยภาษี
จะหารเฉลี่ยตามจำนวนผู้กู้ จะแบ่งกันเองไม่ได้ และจะลดหย่อนรวมได้สูงสุดเพียง 100,000 บาท (ถ้ากู้ร่วม 2 คน แปลว่าลดหย่อนได้สูงสุดคนละ 50,000 บาท)

4, ถ้าผู้กู้ร่วมเสียชีวิต
จะต้องแจ้งธนาคาร มิเช่นนั้นสัญญาจะไม่เปลี่ยนแปลง ทายาท หรือผู้จัดการมรดกของผู้เสียชีวิต (ที่ธนาคารประเมินแล้วว่าสามารถจ่ายหนี้ได้) จะเข้ามารับช่วงต่อการผ่อนชำระ

ลงชื่อกู้ร่วมแล้วจะยกเลิกได้มั้ย ?

จะถอนชื่อกู้ร่วมได้ ต่อเมื่อธนาคารพิจารณาแล้วว่า ผู้กู้ร่วมที่เหลืออยู่ สามารถผ่อนชำระไหว แต่ถ้าธนาคารเห็นว่าคนที่เหลืออยู่ ผ่อนไม่ไหวก็ต้องหาคนอื่นมากู้ร่วมแทน

ขอบคุณข้อมูล : ttbbank

SHARE THIS ARTICLE

Contact our specialist